ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์


ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
                
              การศึกษาเรื่องการกินดีอยู่ดีมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว  นักปราชญ์สมัยโบราณพยายามสอดแทรกแนวความคิดและกฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ปะปนกันอยู่ในหลักจริยธรรม ปรัชญาและคำสั่งสอนในศาสนาต่างๆเช่น หลักปรัชญาของ โสคราตีส (Socrates)  เพลโต (Plato) หรือคำสั่งสอนในศาสนาพุทธ  อิสลาม   แต่ความคิดเหล่านี้ยังไม่ถือเป็นทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ที่จะใช้วิเคราะห์ วิจัย ปรากฎการณ์หรือเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ส่วนใหญ่จะอภิปรายในเรื่องปรัชญา  ศาสนา  ศีลธรรม  ความยุติธรรม  การปกครอง  อย่างไรก็ดีได้มีบุคลต่อไปนี้บันทึกข้อเขียน แนวความคิดเศรษฐศาสตร์ไว้บ้าง เช่น
        
                เพลโต (Plato) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกมีแนวคิดในเรื่อง การแบ่งงานกันทำ (Division  of  Labor) ความต้องการและความต้องการของมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่าง ถ้าทุกคนทำงานเหมาะกับความสามารถของตนมากที่สุดจะทำให้เกิดผลผลิตมากที่สุด อีกทั้งเสียค่าใช้จ่ายน้อย แรงงานลดลง  และทำให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง  ย่อมทำให้เกิดผลผลิตได้มากขึ้นไปอีก โดยนำมาแลกเปลี่ยน มีเงินเป็นสื่อกลางการค้าขายจะดำเนินต่อไปอย่างสะดวก  
                
                อริส  โตเติล (Aristotle)  เป็นนักปรัชญาชาว กรีก มีแนวความคิดในความมั่งคั่ง  2 ประการคือ
1. ความมั่งคั่งที่แท้จริง    มีอยู่ตามธรรมชาติและมีอยู่อย่างจำกัด  ไม่สามรถสร้างเพิ่มขึ้นได้ เช่น   ที่ดิน  แร่ธาตุต่างๆ  น้ำมัน  แก๊สธรรมชาติ
2. ความมั่งคั่งที่ต้องแสวงหา    เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์และคิดค้นขึ้น ไม่จำกัด เช่น  การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า  ซึ่งอยู่กับความพยายามของมนุษย์แต่ละบุคคลเพื่อที่จะแสวงหาให้ได้มาความมั่งคั่งที่ได้จากการซื้อขายสินค้ารั้นเป็นการเอารัดเอาเปรียบ  ไม่มีคุณธรรม  เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ไม่มีที่สิ้นสุด  และมนุษย์จะต้องกำหนดมูลค่าของเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ  จากอดีตจนถึงปัจจุบันไม่มีที่สิ้นสุด
                อริสโตเติล  กล่าวว่า  มูลค่าหมายถึงสินค้าทุกอย่าง  ที่สามรถสนองความต้องการได้ เช่น  การปลูกข้าว  เมื่อนำมารับประทานเอง เรียกว่า  มูลค่าในการใช้ และเมื่อมีมากเหลือใช้ก็นำไปใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนกับสินค้าชนิดอื่นๆ  เช่น  เสื้อผ้า  อาหาร  เครื่องใช้ต่างๆ  ตามที่ต้องการ  เรียกว่า มูลค่าในการแลกเปลี่ยน  ดังนั้นมูลค่าจึงไม่ได้วัดจากคุณภาพของสินค้า แต่วัดจากประโยชน์ในการใช่สอย  ต้นทุนการผลิต เช่น แรงงาน  และปัจจัยการผลิต
                
                 โมมัส  อไควนัส  (Thomas  Aquinas)  นักบวชในศาสนาคริสต์   ชาวอิตาเลียน
มีแนวความคิดว่าควรจะนำหลักคำสั่งสอนของของศาสนาเรื่องศีลธรรมจรรยา  มาใช้กับหลักด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อลดความเห็นแก่ตัวลง  ความมั่งคั่งของมวลมนุษย์มีทั้งคุณและโทษ เมื่อใช้ไปในทางที่ดีก็จะเกิดประโยชน์ และถ้านำไปใช้ในทางที่ไม่ดีก็จะเกิดโทษ  ทำให้ศีลธรรมจรรยาของสังคมเสื่อมลง
               
                 อไควนัส  ได้ให้ความเห็นในเรื่องมูลค่าของสิ่งของว่า ควรเป็นราคายุติธรรม ราคายุติธรรมจึงไม่ถูกไม่แพง  เป็นราคาที่ดีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น  เวลา  การเสี่ยงภัย  การขนส่ง  ดังนั้นมูลค่าที่แท้จริงของสินค้าควรเท่ากับต้นทุนการผลิตจึงจะยุติธรรม  เพราะต้นทุนการผลิตสมัยนี้นั้นมีเฉพาะค่าแรงงานอย่างเดียว การผลิตส่วนใหญ่ทำกันในครอบครัว  ปัจจัยการผลิต
                
              สังคมมนุษย์ได้ค่อยๆเปลี่ยนแปลงมาตลอด  กิจกรรมการผลิตก็มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร  จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 – 16  ซึ่งเป็นยุคที่การค้าทางยุโรปเริ่มเจริญรุ่งเรืองพ่อวาณิชในเมืองเริ่มเป็นศูนย์กลางการค้าและมีความเห็นว่าการค้าขายซึ่งจะนำความมั่งคั่งมาสู่รัฐหรือประเทศได้นั้น จะต้องหาทางส่งสินค้าออกให้มีมูลค่ามากกว่าการสั่งสินเข้า คือ การมีการค้าเกินดุลนั่นเอง ความคิดนี้ก่อให้เกดลัทธิทางเศรษฐกิจ (Economics Doctrine) ที่เรียกกันว่า  ลัทธิพาณิชย์นิยม”  (Mercantilism) ลัทธินี้ได้นิยมเรื่อยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18   จึงเริ่มเสื่อมความนิยมลง และในขณะเดียวกันได้มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษบุคคลแรกที่วางรากฐานวิชานี้คือ อดัม สมิธ  (Adam  Smith, 1723 – 1790 )  ผู้ที่ได้รับสมญานามว่าเป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ และได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้น ชื่อ “An Inquiry into  the  Nature and  Causes  of the  Wealth  of  Nations”  ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค..  1776   หนังเล่มนี้มีสองตอนตอนที่หนึ่งกล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ  ตอนที่สองกล่าวถึงเรื่องทั่วๆไปทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มูลค่า  (value)  ของเศรษฐทรัพย์ต่างๆ (สินค้า ที่ดิน  แรงงาน  ทุน  และผู้ประกอบการ)  การค้าระหว่างประเทศ  การคลัง    รัฐบาล  งานสาธารณะ  การเก็บภาษีอากร  เนื้อเรื่องตอนที่สองยังตอนแก้ไขเพิ่มเติมอีกมากอย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้ก็ได้อำนวยประโยชน์ให้กับนักเศรษฐศาสตร์ในรุ่นต่อมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงเนื้อหาวิชานี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ในเนื้อหาเล่มนี้คัดค้านแนวความคิดของพวกพาณิชย์นิยม  โยชี้ให้เห็นว่า  หากปล่อยให้ทุกคนเป็นอิสระ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองแล้วจะเป็นแรงกระตุ้นให้ให้ผลผลิตประชาชาติสูงขึ้น ทั้งนี้  อดัม  สมิธ    ได้เสนอหลักแห่งการแบ่งงานกันทำ  (Division  of  Labor)  ตามความถนัดของแต่ละบุคคล  และเชื่อว่าหากรัฐบาลไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการโดยอิสระในการบริโภค  (consumption) การผลิตสินค้าและบริการ  (production) ภายใต้กรอบกฎหมายและ จริยธรรมซึ่งเรียกกันว่าเศรษฐกิจแบบเสรี  (Laissery  faire)  จะช่วยให้ประเทศชาติมีเศรษฐกิจรุ่งเรือง   ต่อมาปลายคริสต์ศตวรรษที่  19  อัลเฟรด  มาร์แชล (Alfred   Marshall) ได้เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิต (Theory  of  the  Firm) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่มาของทฤษฏีเศรษฐศาสตร์จุลภาค  (Microeconomicr  Theory) พอถึงปีถึง ค..  1930  ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงทั่วโลก อันเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ในภาวการณ์ดังกล่าวนี้ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษท่านหนึ่งชื่อ Lord John Maynard  Keynes  เสนอทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการจ้างงาน  ดอกเบี้ย  และเงิน   เขาได้คัดค้านแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์รุ่นก่อน  ซึ่งในปัจจุบันเรามักเรียกนักเศรษฐศาสตร์รุ่นก่อนเคนส์  เช่น  เดวิด  ริคาร์โด (Devid  Ricardo) เจมส์  มิลล์   (James  Mill) ว่านักเศรษฐศาสตร์สมัยคลาสสิค (Classical  Economist) เคนส์  เสนอแนะให้รัฐบาลใช้นโยบายการคลัง และนโยบายการเงินเข้าแก้ไขเศรษฐกิจตกต่ำในขณะนั้น  โดยให้รัฐบาลเข้าแทรกแซง  และมีบทบาทกับภาคเอกชนมากขึ้น  ทฤษฎีว่าด้วยการจ้างงาน  นี้ต่อมาได้กลายเป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหาภาค  (Macroeconomics  Theory)  และทำให้เกิดลัทธิเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมรูปใหม่ที่เรียกว่า  ระบบเสรีวิสาหกิจ  (free  enterprise  system)
    
                  สำหรับความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย  ตามที่  เอนก  เธียรถาวร  และคณะ  (2531 :  6-7) กล่าวว่า ตามหลักศิลาจาลึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า  เมืองสุโขทัยนี้ดี  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง  เพื่อนจูงวัวไปค้า  ขี่ม้าไปขาย  ใครจักใคร่ค้าช้างค้า  ใครจักใคร่ค้าม้าค้า  ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า  ซึ่งสรุปได้ว่า  เมืองสุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์  อุดมไปด้วยข้าวปลาอาหาร  ประชาชนมีเสรีภาพในการค้าและไม่เก็บภาษีจากไพร่  นอกจากนี้  สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังมีการทำการค้ากับต่างประเทศคือสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบันมีการส่งทูตไปเจราจาแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีกันต่อมาในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์  ประเทศไทยก็ได้มีการค้าขายกับต่างประเทศ  และเริ่มรับเอาวิทยาการทางเศรษฐศาสตร์ จากต่างประเทศ เช่น การผลิตเหรียญกษาปณ์  การคลัง  การธนาคาร  การค้า   แต่ก็เป็นเพียงการปฏิบัติเท่านั้น  ยังมิได้รวบรวมไว้เป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องแน่นอนจนกระทั่งสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ.  2454   พระยาสุริยานุวัตร์ ได้พิมพ์หนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทยชื่อ ทรัพยศาสตร์แต่ได้ถูกรัฐบาลในสมัยนั้นขอร้องมิให้นำออกเผยแพร่แก่สาธารณชน  จนมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้นำออกมาพิมพ์ใหม่มีชื่อว่า เศรษฐศาสตร์วิทยาภาคต้น  เล่ม  1    มีสาระว่าด้วยการสร้างทรัพย์การแบ่งปันทรัพย์หรือการกระจายรายได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2459  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส)  ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ ตลาดเงินตรา  (Money  Market)  แต่การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ในสมัยนั้นก็ยังไม่จริงจังและเผยแพร่ ในช่วงเวลานี้  นาย สหัส  กาญจนพังคะ  ได้แปลหนังสือ  “The Principles  of  Political  Economy” ของศาสตร์ตราจารย์ชาร์ล  จีด (Charle  Gide) ชาวฝรั่งเศส จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และใช้ชื่อว่า หลักเศรษฐศาสตร์ของชาร์ล  จีด   พิมพ์ออกจำหน่อยเมื่อกลางปี พ.ศ.  2479  ในระยะเดียวกันคุณพระสารสาสน์พลขันธ์ได้เขียนตำราเศรษฐศาสตร์ขึ้นสองเล่ม คือ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเศรษฐกิจการค้าและเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเงิน ซึ่งได้จัดพิมพ์ขึ้นใน  พ.ศ.  2480  และ  2481  ตามลำดับซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้แก่ประชาชนไทยตื่นตัวในการทำการค้า
               
            การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ชะงักไปชั่วคราวเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น แต่ในระหว่างสงครามโลกนี้ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ของสองท่านคือ  นายบุญมา  วงศ์สวรรค์  เขียนหนังสือชื่อ เศรษฐศาสตร์ในเวลาสงคราม และ  ดร.  ทองเปลว    ชลภูมิ  เขียนหนังสือ  ทฤษฎีเงินตรา” 
                
              และเมื่อ 14  มิถุนายน  พ.ศ.  2492  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แบ่งออกเป็น  คณะได้แก่ นิเทศศาสตร์  รัฐศาสตร์  พาณิชยศาสตร์และการบัญชี  และเศรษฐศาสตร์  จากนั้นมาจนถึงวันนี้การศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงแพร่หลายและพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากโดยเฉพาะในสมัยของ
ศาสตราจาย์ป๋วย  อึ๊งภากรณ์  ผู้มีส่วนสำคัญในการปฎิรูปการสอนและการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย  ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิชาดังกล่าวทั้งในปริญญาตรี  โท  เอก   โดยตรงของคณะเศรษฐศาสตร์นอกจากนี้วิชาเศรษฐศาสตร์ยังได้แพร่หลายขยายการศึกษาออกไปสู่ระดับต่างๆ ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา


บรรณานุกรม

     ทับทิม  วงศ์ประยูร. (๒๕๕๒). สังคม  กับ  เศรษฐกิจ. ๑. กรุงเทพมหานคร. บูชาคุณ.

                   





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น