ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์


ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์

               
                 เศรษฐศาสตร์ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  “Economics” เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกเรียกว่า “oikosnemein”ซึ่ง oikos หมายถึงบ้าน (house)และ nemein หมายถึง การจัดการครบคุมและดูแล  (management) ดังนั้น ความหมายดั้งเดิมของเศรษฐศาสตร์คือ วิชาหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการดูแลจัดการเกี่ยวกับเครื่องเรือน วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ (social science)ที่ศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ (human behavior)ในฐานะที่อยู่ร่วมกันในสังคม
               
                  นักเศรษฐศาสตร์ให้คำจำกัดความของคำว่า เศรษฐศาสตร์  ไว้มากมาย บางคนเน้นถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยน (exchange) ส่วนบางคนเน้นความสำคัญของความขาดแคลนหรือยากจน (scarcity) และการเลือก (choice) ของที่หายากนั้น เพื่อสนองความพอใจของมนุษย์ในที่นี้ขอนำความหมายของนักเศรษฐศาสตร์ 5 ท่านมากล่าวคือ

 (Paul  A. Samuelson)

                    Paul  A. Samuelson (1973 : 12)ได้ให้คำจำกัดความในหนังสือ Economics ว่า เศรษฐศาสตร์ คือ การศึกษาที่มนุษย์ในสังคม จะมีการใช่เงินหรือมาก็ตาม ตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรอันหามาไยากที่อาจใช้เพื่อการต่างๆ เช่นนำไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ

(Leonel Robbins)
                     Leonel Robbins  (อ้างใน  เทอศักดิ์  ศรีสุรพล 2535 : 1)ได้ให้คำจำกัดความไว้ในหนังสือ An Essay in  the Nature and Singificance of  Economic  Science  ว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกหนทางที่จะใช่ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ช่อย่างจำกัดเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน


( Alfred Marshall)
                          Alfred Marshall (อ้างใน  ไพศาล  กิ่งเพ็ชรรัตน์ และคณะ 2525 : 1-4)  ได้ให้คำจำกัดความไว้ในหนังสือ  Principle  of  Economics  ว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการดำรงชีวิตตามปกติของมนุษย์ โดยศึกษาถึงการกระทำของสังคมและของแต่ละบุคคล เฉพาะส่วนที่มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นที่สุดกับการบรรลุของการกินดีอยู่ดี  และการใช้วัตถุปัจจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                
                 นราทิพย์  ชุติวงศ์   (2432 : 1)  ได้ให้คำจำกัดความไว้ในหนังสือ หลักเศรษฐศาสตร์ว่า เศรษฐ - ศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาอย่างมีเหตุผลถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ ว่า มนุษย์ควรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำนวนจำกัดและซึ่งใช้ประโยชน์ในทางต่างๆได้มากมายหลายทางในการบำบัดความต้องการของตนอย่างไร จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
               
         ปัจจัย   บุนนาค   และสมคิด  แก้วสนธิ (2535 : 2-3 ) ได้ให้คำจำกัดความไว้ในหนังสือหลักเศรษฐศาสตร์ว่า  จุลเศรษฐศาสตร์  ว่า เศรษฐศาสตร์  เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเอาทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัดมาซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือนำมาประกอบเป็นสินค้า ด้วยความประหยัด เพื่อจำแนกแจกจ่ายได้บำบัดความต้องการของมนุษย์ในสังคม
               
    จากคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นมาสรุปคำจำกัดความของคำว่าเศรษฐศาสตร์ได้ดังนี้ เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และวิธีการที่สังคมจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาบำบัดความต้องการของสังคมซึ่งไม่มีจำกัดเพื่อให้เกิดความพอใจมากที่สุด หรือความอยู่ดีกินดีของสังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต



บรรณานุกรม

     ทับทิม  วงศ์ประยูร. (๒๕๕๒). สังคม  กับ  เศรษฐกิจ. ๑. กรุงเทพมหานคร. บูชาคุณ.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น